ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นประเพณีนิยม โดยการจัดงานศพแบบไทย-พุทธมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการหลายอย่าง เช่น
ญาติพี่น้องจะทำพิธีอาบน้ำศพ เพื่อชำระร่างกายให้สะอาด และแต่งหน้าแต่งตัวให้ผู้วายชนม์ ถ้าเป็นข้าราชการอาจจะแต่งเครื่องแบบข้าราชการนั้น ๆ
เปรียบเสมือนการแสดงถึงความรักความอาลัยให้กับผู้วายชนม์เป็นครั้งสุดท้าย ช่วยให้ผู้เข้าร่วมพิธีมีความสงบสุขในขณะที่เข้าร่วม และช่วยให้การทำพิธีดูสวยงาม
ถือเป็นพิธีเริ่มต้นเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้วายชนม์ โดยใช้น้ำมนต์ผสมน้ำสะอาด โรยด้วยดอกไม้หอม หรืออาจใช้น้ำอบผสมด้วย ผู้ที่มารดน้ำศพจะรดที่มือข้างหนึ่งของผู้วายชนม์ที่ยื่นออกมาและกล่าวคำไว้อาลัย
การเชิญพระมาสวดบทอภิธรรมที่มีความหมายเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต เพื่อให้เห็นความจริงของชีวิตตามธรรมชาติหรือธรรมดา รวมถึงระลึกถึงคุณความดีของผู้วายชนม์
เป็นการถวายสิ่งของที่เหมาะสมหรือของที่ควรใช้แด่พระภิกษุสงฆ์ เช่น อาหารและยารักษาโรค
คือพิธีเผาศพ นับเป็นพิธีกล่าวอำลาครั้งสุดท้ายกับผู้วายชนม์ ในช่วงเช้าจะมีการแห่ศพเวียนรอบเมรุ โดยจะเวียนซ้าย 3 รอบ จึงนำศพขึ้นตั้งบนเมรุ
ก่อนทำพิธีจะมีการกล่าวชีวประวัติของผู้วายชนม์ เพื่อระลึกถึงคุณความดีและให้ผู้มีชีวิตอยู่ตระหนักถึงสัจธรรมของชีวิต จากนั้นจึงทำการทอดผ้าบังสุกุล และให้ผู้ร่วมงานนำธูปเทียนสำหรับขอขมาศพและดอกไม้จันทน์ค่อย ๆ เดินขึ้นเมรุเผา วางดอกไม้จันทน์และธูปเทียนลง แล้วจึงเดินลงบันไดอีกข้างหนึ่ง
เป็นพิธีที่ญาติมิตรจะลอยอัฐิของผู้วายชนม์บนแม่น้ำ หรือทะเล เพื่อเป็นการส่งดวงวิญญาณของผู้วายชนม์ไปสู่ภพภูมิที่ดีและสงบร่มเย็นเหมือนดั่งสายน้ำ
ซึ่งโดยส่วนใหญ่ทางวัดจะมีบริการจัดงานศพครบวงจรอยู่ และมีหลากหลายแพ็กเกจให้สามารถเลือกใช้บริการได้ตามงบประมาณของแต่ละคน เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้จัดงาน และไม่ให้พลาดรายละเอียดสำคัญต่าง ๆ